สคร.12 เตือน ปชช. 7 จังหวัดใต้ตอนล่าง ระวังป่วย “โรเมลิออยโดสิส” ล่าสุดพบป่วยแล้วนับร้อย
เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2566 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จ.สงขลา แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ระวังป่วยด้วย โรคเมลิออยโดสิส เสี่ยงอันตรายต่อชีวิต โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัว แนะเมื่อมีบาดแผล เลี่ยงสัมผัสดินและน้ำ ไม่เดินเท้าเปล่า ใส่บูทยาวเมื่อต้องลุยน้ำ และดื่มน้ำจากแหล่งที่สะอาด หรือน้ำต้มสุก หากมีอาการไข้ร่วมกับประวัติสัมผัสดินหรือแหล่งน้ำธรรมชาติโดยไม่ป้องกัน ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง ให้รีบพบแพทย์พร้อมแจ้งประวัติเสี่ยง
รายงานว่าสถานการณ์โรคเมลิออยโดสิส ในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่างเกือบ 100 คน ป่วยและเสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 67.86 เพศหญิงร้อยละ 32.14 พบผู้ป่วยสูงสุดในอาชีพเกษตรกรมากที่สุด รองลงมาคืออาชีพรับจ้าง ในกลุ่มอายุที่พบสูงสุด คือ กลุ่มอายุ 55 – 64 ปี โดยมีจังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด จ.พัทลุง รองลงมาสงขลา ตรัง ปัตตานี นราธิวาส สตูล และยะลา ตามลำดับ
รายงานว่าโรคเมลิออยโดสิส สามารถติดต่อได้ 3 ทาง คือทางผิวหนังที่มีบาดแผลหรือผิวหนังที่อ่อนนุ่ม จากการแช่น้ำหรือสัมผัสพื้นที่ชื้นแฉะ หายใจเอาฝุ่นจากดินหรือน้ำที่มีเชื้อเจือปนอยู่เข้าไปและดื่มมน้ำหรือรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป
มีไข้สูงเป็นเวลานานเกิน 3 วัน เกิดแผลฝีหนองตามร่างกาย ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง ให้รีบพบแพทย์พร้อมแจ้งประวัติเสี่ยง พบผู้เสี่ยงต่อการติดเชื้อในผู้ที่ประกอบอาชีพสัมผัสดินและน้ำโดยตรงเป็นเวลานาน เช่น เกษตรกร ทำนา ทำสวน และประมง โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง, โรคเบาหวาน, โรคติดสุรา, โรคไตเรื้อรัง
หรือผู้มีโรคประจำตัวที่เป็นสาเหตุให้มีภูมิคุ้มกันต่ำเช่น โรคมะเร็ง ผู้ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน และผู้ป่วยที่ได้รับยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน หรือผู้ที่รับประทานยาต้ม ยาหม้อ ยาชุด ยาลูกกลอนที่มีสเตียรอยด์ปนเปื้อน มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะรุนแรงและแทรกซ้อนสูงขึ้น
รายงานว่าแนะนำวิธีการป้องกันโรคเมลิออยโดสิส ผู้ที่มีบาดแผลให้หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำ ย่ำโคลน หรือสัมผัสดินและน้ำโดยตรง หากจำเป็นขอให้สวมรองเท้าบูท ถุงมือยาง กางเกงขายาวหรือชุดลุยน้ำ และรีบทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำสะอาดและสบู่ สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย ทุกครั้งเมื่อทำงานหรือมีกิจกรรมที่สัมผัสดินหรือโคลน
หากมีบาดแผลที่ผิวหนัง ควรรีบทำความสะอาดบาดแผล และหลีกเลี่ยงการสัมผัสดินและน้ำจนกว่าแผลจะแห้งสนิท รับประทานอาหารปรุงสุก ดื่มน้ำต้มสุกและหลีกเลี่ยงการสัมผัสลม ฝุ่น และการอยู่ท่ามกลางสายฝน